ขอบพระคุณภาพจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ครับ
เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2568 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดโครงการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย - ญี่ปุ่น: การฉายภาพยนตร์ "Tooi & Masato" และเสวนาทางวิชาการ “ท้องถิ่นไทย x ญี่ปุ่นศึกษา” ขึ้น
โดยกิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2568 ซึ่งจัดขึ้นภายใต้การสนับสนุนของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ (国際交流基金バンコク日本文化センター) โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งชาวไทยและชาวญี่ปุ่นราว 80 ราย ซึ่งเป็นการจัดงานที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก
หลังจากการฉายภาพยนตร์ "Tooi & Masato" บนจอขนาดใหญ่ของห้องประชุมศาสตราจารย์ดร.หม่อมหลวงตุ้ย ชุมสาย อาคาร HB7 ได้มีการเสวนาทางวิชาการ “ท้องถิ่นไทย x ญี่ปุ่นศึกษา” โดยเริ่มจากการบรรยายหลักโดย Prof. Kisei KOBAYASHI ซึ่งมีผู้เข้าร่วมตั้งคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับในประเด็นต่างๆ มากมาย
หลังจากนั้นได้มีการบรรยายโดยได้รับเกียรติจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาท้องถิ่น หลายท่าน ได้แก่ รศ.ดร.จิรันธนิน กิติกา (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) โดยได้ขยายความเกี่ยวกับความทรงจำและประวัติศาสตร์โดยอิงจากภาพยนตร์ และผศ.กิตติยา มูลสาร (ศูนย์บูรณาการมนุษยาภิวัฒน์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ได้กล่าวถึงการนำเสนอญี่ปุ่นในสื่อล้านนา นอกจากนี้ยังมีการเสวนาซึ่งดำเนินรายการโดย ผศ.พัชรากราณต์ อินทะนาค (ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) โดยได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างกระตือรือร้นเกี่ยวกับแนวโน้มญี่ปุ่นศึกษาจากท้องถิ่นไทย ซึ่งเป็นไปอย่างคึกคักและสนุกสนานเข้าใจง่าย
จากการสัมมนา 2 ครั้งในครั้งนี้ แนวทางท้องถิ่นไทย x ญี่ปุ่นศึกษา ได้แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาใหม่ๆ ในการวิจัยทางวิชาการในลุ่มแม่น้ำโขงในอนาคต
ทางศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาฯ ขอขอบพระคุณ เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ (国際交流基金バンコク日本文化センター) และขอขอบพระคุณคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมในครั้งนี้เป็นอย่างสูงครับ
2025年7月12日、チェンマイ大学人文学部において、映画『トオイと正人』上映会および学術セミナー「タイ地域×日本研究」を開催しました。
7月9日のウドンターニー・ラーチャパット大学に続く第2回目の開催となった今回のセミナーは、チェンマイ大学人文学部と国際交流基金バンコク日本文化センターのご支援のもとで開催され、約80名が参加する盛況となりました。
大型スクリーンでの映画上映に続き、学術セミナーでは小林紀晴教授の基調講演が行われ、参加者からも多くの質問が寄せられました。
その後、地域研究の専門家による講演が行われました。ジランタニン・ギティガー准教授が映画をもとにして記憶と歴史をめぐる議論を展開し、ギッティヤー・ムーンサーン助教授がラーンナーメディアにおける日本表象について論じました。さらに、パッチャラーグラーン・インタナート助教授をモデレーターとしてのトークセッションでは、タイ地域からの日本研究の展望に関する活発な意見交換が行われ、大変盛況でした。
今回の2回にわたるセミナーにより、タイ地域×日本研究のアプローチが、今後メコン川流域での学術研究の新たな展開を示すことができました。
国際交流基金バンコク日本文化センターと人文学部には大変多くのご支援をいただきました。誠にありがとうございました。心より御礼申し上げます。