Jul 27, 2011

ประชาสัมพันธ์กิจกรรม

ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาร่วมกับเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
จัดการบรรยายเชิงวิชาการญี่ปุ่นศึกษา
"พินิจญี่ปุ่น-พิเคราะห์ไทยผ่านงานวรรณกรรม"




ผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับฟังการบรรยายฯ ขอแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมายังศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาฯ โทรศัพท์ 053-943284 เพื่อความสะดวกในการจัดเตรียมเอกสารลงทะเบียน การสำรองที่นั่ง และอาหารว่าง
ให้เพียงพอแก่ทุกท่าน ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 17 สิงหาคม 2554

Jul 25, 2011

การบรรยาย สาธิต: ศิลปะภาพพิมพ์ญี่ปุ่น อุกิโย-เอะ UKIYO-E Pop Art of Old Edo

ขอเชิญชวนทุกท่านที่สนใจเข้าร่วมฟังการบรรยาย สาธิตการพิมพ์ และร่วมปฏิบัติงาน
ศิลปะภาพพิมพ์ญี่ปุ่น อุกิโย-เอะ ในวันที่ 19 – 20 สิงหาคม 2554

วันศุกร์ที่ 19 สำหรับนักศึกษา
วันเสาร์ที่ 20 สำหรับอาจารย์ และบุคคลทั่วไป

9:30 – 12:00 ฟังการบรรยาย และสาธิตการพิมพ์
14:00 – 17:00 ร่วมปฏิบัติงาน (พิมพ์ภาพบนพัดญี่ปุ่น)

ฟรี จำกัดจำนวน 25 ท่านต่อวัน
สอบถามรายละเอียดและติดต่อลงทะเบียนที่
คุณไชยณรงค์ คณะวิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่ 053-944-805


 
UKIYO-E Pop Art of Old Edo

Lecture, Demonstration & Workshops
Dates: 19 - 20 August 2011
Time: 9:30 – 12:00 (Lecture, Demonstration)
14:00 – 17:00 (Workshops)

*For Students Friday 19th
*For Public Saturday 20th

Entry: Free (registration essential)
** Limited Spaces Available 25 person**

Inquiries & Registration
Please contact at Faculty of Fine Arts, CMU.
Tel. 053 944805 http://www.finearts.cmu.ac.th/

Jul 19, 2011

特別講義「日本文学史」

7月13日(水曜日)、チェンマイ大学人文学部HB7大講義室にて、チュラロンコン大学人文学部アタヤー・スワンラダー助教授による講義がありました。

 

特別講義のテーマは「日本文学史」で、古代から近世までの日本文学のながれを説明していただきました。アタヤー助教授はタイ語で日本文学の紹介をした著書をお持ちです。
センターにも3冊ご著書を寄贈していただきました。
当日は117名の参加があり、多くの大学や語学学校からの参加がありました。




Jul 13, 2011

ภาพบรรยากาศการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ กับ "ศาสตราจารย์ทานาเบะ ชิเงฮารุ"


7月12日チェンマイ大学日本日本研究センターにおいて、田辺繁治教授をお招きして座談会を開催しました。
ご存知のとおり田辺教授は、約半世紀にわたって北部タイをフィールドに宗教やコミュニティーのありかたについての優れた研究をなされてきました。
現在チェンマイ大学民族研究センターにおいて客員教授として教鞭を取られており、当日は多くの学生や教員をまじえて、田辺先生の生い立ちから優れた研究者としてのアドバイスまで、幅広くおはなしをしていただきました。
ภาพบรรยากาศการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ กับ "ศาสตราจารย์ทานาเบะ ชิเงฮารุ"
นักวิชาการด้านมนุษยวิทยา ที่มีชื่อเสียง และมีผลงานการเขียนตำรามากมายเมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2554 ที่ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาเวลา 14:30-16:00 น.

Jul 12, 2011

แนะนำหนังสือ ญี่ปุ่นปริทัศน์

แนะนำหนังสือ "ญี่ปุ่นปริทัศน์"
โดย รองศาสตราจารย์ ดร. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์


ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาใช้บริการได้ที่ ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา หรือดาวโหลดเอกสารฉบับเต็มได้ที่ลิงค์ต่อไปนี้

23 มีนาคม 2554

Jul 7, 2011

คณะกรรมการตรวจสอบระบบประกันคุณภาพฯ เยี่ยมชมศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาฯ

รองศาสตราจารย์โรม จิรานุกรม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรคณะมนุษยศาสตร์ นำคณะกรรมการตรวจสอบระบบประกันคุณภาพฯ คณะมนุษยศาสตร์ ประจำปี 2554 มาเยี่ยมชมศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2554


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่  เว็บไซด์คณะมนุษยศาสตร์

เทศกาลทะนะบะตะ 七夕祭 [ たなばたまつり]

ขอเชิญชวนทุกท่านที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม เทศกาลทะนะบะตะ 
ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2554 เวลา 08.30 - 12.00 น.
ณ อาคาร HB7 ชั้น 1 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
--------------------------

สำหรับท่านที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทศกาลทะนะบะตะ 
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จากหนังสือ ณ ห้องศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาฯ

 
----------------------------------------------------

ความเป็นมาของเทศกาลทะนะบะตะ
ที่มาของเทศกาลนี้ เป็นตำนานเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องดวงดาว
โดยตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า มีเจ้าหญิงองค์หนึ่งชื่อโอริฮิเมะ 織り姫 ทำงานทอผ้าให้กับเหล่าเทพทั้งหลาย

เจ้าหญิงเป็นผู้ที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งจนเป็นที่ยอมรับจากเหล่าเทพทั้งหลายในเรื่องฝีมือการทอผ้า แต่มีปัญหาอย่างหนึ่งก็คือ เจ้าหญิงไม่สนใจเรื่องอื่นๆเลยนอกจากการทำงาน ซึ่งรวมไปถึงการหาคู่ครองด้วย   ร้อนถึงบิดาให้เป็นห่วงว่าธิดาของตนจะต้องอยู่แบบไร้คู่ครอง จึงได้จัดการหาคู่มาให้ดูตัวกัน โดยฝ่ายชายก็เป็นผู้ที่ขยันเอาการเอางานเช่นกัน ชื่อฮิโกะโบะชิ ทำงานเลี้ยงสัตว์ 

พอทั้งคู่ได้พบกันก็สามารถเข้ากันได้เป็นอย่างดี ทำให้เริ่มไม่สนใจในหน้าที่ของตนเช่นแต่ก่อน เอาแต่เที่ยวสนุกไปเรื่อย ๆ ทำให้เกิดผลกระทบต่อเหล่าเทพที่รอผ้าที่สั่ง และผลผลิตจากสัตว์ที่เลี้ยงไว้ จนบิดาของฝ่ายหญิงโกรธจึงได้จับให้ทั้งสองคนแยกจากกัน โดยมีแม่น้ำสายใหญ่คั่นกลางเป็นเขตกักบริเวณ โดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าทั้งสองกลับไปตั้งใจทำงานเช่นแต่ก่อน จะอนุญาตให้มาพบกันได้ปีละครั้ง  1 ครั้ง ในวันที่เจ็ดเดือนเจ็ดของทุกปี 

ทั้งคู่จึงกลับไปตั้งใจทำงานของตนเหมือนเดิมเพื่อที่จะได้มาพบกันอีกครั้ง โดยแม่น้ำจะลดระดับลงให้ทั้งคู่ได้พบกัน หากมีฝนตกจะมีนกพาบินข้ามมาพบกัน


งานเทศกาลทะนะบะตะนั้น ถือเป็นเทศกาลที่ใช้ขับไล่สิ่งที่ไม่ดีออกไปจากตัว ดังนั้นจะมีการประดับตกแต่งนำเอากระดาษเขียนสีสันต่างๆ เพื่่อขอพรต่อเทพเทวดา มามัดติดกับก้านใบของต้นไผ่ โดยในกระดาษก็จะเขียนขอให้มีความสุขปราศจากสิ่งที่ร้ายๆ โรคภัยไข้เจ็บทั้งปวง และก็นำเอามาประดับที่บ้านหรือตามที่ต่างให้สวยงาม



Jul 4, 2011

ให้การต้อนรับ Dr.Katsumi Kakazu


คณบดีคณะมนุษยศาสตร์, รองคณบดีฝ่ายวิจัย, หัวหน้าฝ่ายวิเทศสัมพันธ์, อดีตประธานศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาฯ และประธานศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาฯ ให้การต้อนรับ Dr.Katsumi Kakazu ผู้อำนวยการ Japan Foundation BKK. เพื่อหารือเรื่องความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2554 ณ สำนักงานคณบดี


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่  เว็บไซด์คณะมนุษยศาสตร์