Feb 22, 2023

สาระความรู้กับศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา5: ความหมายของโกะโตจิเคียระ


 

“โกะโตจิเคียระ” เป็นมาสคอตประเภทหนึ่งปรากฏในราวทศวรรษที่ 1980 มีจุดเริ่มต้นจากการสร้างตัวมาสคอตของนิทรรศการท้องถิ่น (Kobe Port Island Exposition) ในปีค.ศ.1981 เป็นครั้งแรกที่เมืองโกเบ และหลังจากนั้นจึงมีการทำมาสคอตต่างๆรวมถึงมาสคอตท้องถิ่นขึ้นทั่วประเทศญี่ปุ่นปัจจุบันคาดว่ามีราว 3,000 ตัว

ยูรุเคียระของประเทศญี่ปุ่นโดยเฉพาะยูรุเคียระเพื่อการประชาสัมพันธ์และฟื้นฟูท้องถิ่นที่เรียกว่า “โกะโตจิเคียระ” นั้นมีความนิยมทำเป็นตัวมาสคอตที่เป็นชุดสำหรับใส่โดยคนหรือที่เรียกว่า คิกุรุมิ(着ぐるみ)มีจุดประสงค์เพื่อใช้ทำกิจกรรมและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ มีความแตกต่างจากตัวการ์ตูน หรือ Character อื่นๆโดยสรุปจากตัวแทนของ Character 4 แบบ คือ

1.คุมะมง เป็นตัวแทนของยูรุเคียระ – สถานที่ทำกิจกรรมหลักคือช็อปปิ้งมอลล์และรายการโทรทัศน์ มีเป้าหมายพื้นฐานคือเพื่อให้ท้องถิ่นเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และมีการประชาสัมพันธ์ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและความสามารถในการแสดงของคนที่อยู่ในคิกุรุมิเป็นจุดขาย โดยประโยชน์ของคุมะมงคือเป็นการฟื้นฟูท้องถิ่นและการเชิญชวนให้คนมาเที่ยวในท้องถิ่น

2.Docomodake เป็นตัวแทนของ Brand Character – Docomodake เกิดขึ้นเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ.2005 เป็น Character ที่สร้างขึ้นเพื่อการโฆษณางานบริการลูกค้าที่เรียกว่า docomo only ของบริษัท NTT DOCOMO, Inc. สถานที่ทำกิจกรรมหลักคืองานโฆษณาและแผ่นพับของบริษัท มีเป้าหมายพื้นฐานเพื่อให้จดจำแบรนด์สินค้าได้ สิ่งที่สำคัญที่เป็นจุดขายคือการสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า ส่วนประโยชน์ของการมี Docomodake ก็คือ การสร้างและรักษาความเข้มแข็งให้กับแบรนด์นั่นเอง

3.Hello Kitty เป็นตัวแทนของ Business Character – สถานที่ทำกิจกรรมหลักคือร้านจำหน่ายสินค้า และมีเป้าหมายพื้นฐานเพื่อจำหน่ายเป็นสินค้า โดยมีการแสดงลักษณะเฉพาะตัวเป็นจุดขายสำคัญ และมีประโยชน์หลักคือการขยายฐานการจำหน่ายสินค้า

4.Pikachu เป็นตัวแทนของ Content Character – สถานที่ทำกิจกรรมหลักคือในการ์ตูนและเกมส์ มีเป้าหมายพื้นฐานคือเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวซึ่งเป็นจุดขายสำคัญ ส่วนประโยชน์ของคาแรกเตอร์Pikachu คือเพื่อให้ผู้ชมมีความรู้สึกร่วมกับเรื่องราวของตัวPikachuนั่นเอง


****************************************
พบกับสาระความรู้กับศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาฯ ได้ในทุกวันพุธ 
ส่วนตอนต่อไปจะเป็นความรู้เกี่ยวกับอะไร อย่าลืมติดตามรับชม!!!



Feb 15, 2023

สาระความรู้กับศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา 3:ความหมายของยูรุเคียระ




จากสัปดาห์ที่ผ่านมาเราได้ทำความรู้จักมาสคอตมาหลายสัปดาห์แล้ว วันนี้เรามาทำความรู้จักยูรุเคียระให้มากขึ้นกันค่ะ


คำว่า “ ยูรุเคียระ” เป็นคำที่ย่อมาจากคำว่า Yurui Mascot Character(ゆるいマスコットキャラクター)มีความหมายว่า อยู่ตามสบาย ช้าๆไม่เร่งรีบ เป็นตัวมาสคอตเพื่อใช้ในอีเว้นท์ต่างๆ เป็นการเชิญชวนให้คนมาท่องเที่ยวเมืองและหมู่บ้าน รวมถึงแนะนำสินค้าท้องถิ่นเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้แต่ละท้องถิ่น ยูรุเคียระที่ใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์ท้องถิ่นจึงถูกเรียกว่า “โกะโตจิเคียระ” (ご当地キャラ)หรือมีความหมายว่า Local Character นั่นเอง


มีผู้ให้ความหมายของ “ยูรุเคียระ” ในหลายแบบ แต่แบบที่ใช้กันในวงกว้างคือ การอธิบายของ มิอุระ จุน (三浦 純)ศิลปิน นักเขียนการ์ตูนและ Illustrator และผู้เขียนหนังสือไก๊ด์บุ๊คของยูรุเคียระทั่วประเทศ (全日本ゆるキャラ公式ガイドブック)ซึ่ง อินุยามะ อากิฮิโกะและมาซามิตสึ ซุงิโมโตะ นักวิจัยเกี่ยวกับ ยูรุเคียระและเป็นผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับทฤษฎีเกี่ยวกับยูรุเคียระ(ゆるキャラ論:ゆるくない「ゆるキャラ」の実)ได้เขียนถึงมาสคอตตัวแรกในชุดตุ๊กตาที่มีคนใส่ซึ่ง มิอุระ จุน พบเป็นครั้งแรกคือ “เนียนมาเงะ” กล่าวได้ว่าเป็น “โกะโตจิเคียระ” ของ Edo Wonderland ซึ่งเป็น Theme Park ย้อนยุคแบบเอโดะที่จังหวัดโทะชิงิ หลังจากนั้น ร้านจำหน่ายของที่ระลึก “เคียววะ” ที่เมืองซัปโปโรก็ได้ทำมาสคอตเพื่อประชาสัมพันธ์ร้านคือ “มาริ-มกโกะริ” และกลายเป็นที่สนใจของคนญี่ปุ่นทั่วประเทศ

ความหมายของ “ยูรุเคียระ” ที่กำหนดโดย มิอุระ จุน นั้นเรียกว่า “เงื่อนไข 3 ประการ” (ゆるキャラ3ヵ条)ของยูระเคียระที่ใช้เป็นเกณฑ์สำหรับการสร้างตัวมาสคอต คือ

1) ต้องสื่อถึงความรักในท้องถิ่น
2) มีท่าทางการเคลื่อนไหวที่ไม่มั่นคงหรือมีเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง
3) มีความน่ารักและดูสบายๆ

คำว่า “ยูรุเคียระ” นี้เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่ามีการให้ความหมายโดย มิอุระ จุน มีการจดทะเบียนทางการค้าโดยบริษัทฟูโซและมิอุระ จุน ซึ่งอนุญาตให้ใช้ได้โดยไม่คิดมูลค่าในกิจกรรมเพื่อการฟื้นฟูท้องถิ่นและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ปีค.ศ.2017 การจัดการลิขสิทธิ์ของคำว่า “ยูรุเคียระ” เป็นของคณะกรรมการบริหาร Yurukyara Grand Prix และบริษัทยูรุเคียระจำกัด

Feb 8, 2023

สาระความรู้กับศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา③:“โกะโตจิเคียระ”ยอดนิยม

 

มาสคอตท้องถิ่น หรือ “โกะโตจิเคียระ”(ご当地キャラ)ตัวแรกของประเทศญี่ปุ่นเป็นรูปแมวชื่อ “ฮิโกะเนียน” เป็นมาสคอตของเทศบาลเมืองฮิโกะเนะ จังหวัดชิงะ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในงานฉลองครบรอบ 400 ปีของการสร้างปราสาทฮิโกะเนะ หน้าที่หลักของ “ฮิโกะเนียน” คือ การเป็นตัวแทนของปราสาทฮิโกะเนะและเทศบาลเมืองฮิโกะเนะในการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเมืองฮิโกะเนะ การไปร่วมงานอีเว้นท์ต่างๆในระดับจังหวัด ระดับประเทศ และยังไปร่วมงานในต่างประเทศ เช่น งานเอ็กซ์โปที่ประเทศฝรั่งเศส

มาสคอตที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในประเทศญี่ปุ่นคือ คุมะมง ซึ่งเป็นมาสคอตประจำจังหวัดคุมะโมะโตะ การใช้มาสคอตคุมะมงในกิจกรรมประชาสัมพันธ์ส่งผลต่อยอดขายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับมาสตคอน ปีค.ศ.2011 จำนวน 2,600,000,000 เยน ปีค.ศ.2012 จำนวน 29,300,000,000 เยน ในปีค.ศ.2013 จำนวน 44,945,000,000 เยน (1) (宮副 謙司(2015)『地域活性化マーケテイングー地域価値を創る・高める方法論』同友館。) ซึ่งคุมะมงถือว่าเป็นโกะโตจิเคียระที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประเทศญี่ปุ่น โดยดูจากองค์ประกอบ 3 อย่างคือ

1.เป็นที่รู้จักและเป็นที่ชื่นชอบอย่างกว้างขวาง
2. ส่งผลต่อการเพิ่มจำนวนของนักท่องเที่ยว
3. ส่งผลทางด้านเศรษฐกิจอย่างมาก

จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า โกะโตจิเคียระที่ประสบความสำเร็จดังเช่นคุมะมงนั้น นอกจากจะมีคุณสมบัติของการเป็นโกะโตจิเคียระขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นระดับจังหวัดหรือระดับเมืองใหญ่แล้ว ยังมีองค์ประกอบอื่น เช่น

1. เข้าร่วมการประกวดและชนะการประกวดในงาน “Yurukyara Grand Prix”
2. มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์หลายทาง เช่น เว็บไซต์ที่เป็นทางการ บล็อก Twitter Instagram และ facebook
3. มีการจัดอีเว้นท์เพื่อประชาสัมพันธ์คุมะมงโดยเฉพาะ
4. มีการเข้าร่วมอีเว้นท์ต่างๆที่จัดในท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมอ (หลายครั้งในแต่ละวัน)
5. มีสินค้าของตนเองและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

ในบรรดาโกะโตจิเคียระนี้ นอกจากคุมะมงที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 1 และฮิโกะเนียนที่ได้รับความนิยมสูงแล้ว ยังมีโกะโตจิเคียระที่ถูกจัดอันดับว่าได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยรัชศกเฮเซ เช่น “จิตไจ้อ๊ตจัง” ของเมืองอามะกะซะกิ จังหวัดเฮียวโกะ “ฟุนัชชี่” ของเมืองฟุนะบะชิ จังหวัดชิบะ “คาปะรุ” ของจังหวัดไซตามะ และ “กุมมะจัง” ของจังหวัดกุมมะ ก็ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักแพร่หลายเช่นกัน



****************************************

พบกับสาระความรู้กับศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาฯ ได้ในทุกวันพุธ
ส่วนตอนต่อไปจะเป็นความรู้เกี่ยวกับอะไร อย่าลืมติดตามรับชม!!!


Feb 1, 2023

สาระความรู้กับศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา②:Yurukyara Grand Prix




ในแต่ละปีญี่ปุ่นจะมีเทศกาลที่สำคัญเกี่ยวกับโกะโตจิเคียระ โดยเริ่มตั้งแต่ปีค.ศ.2010 คือ “Yurukyara Grand Prix”(ゆるキャラクランプリ)ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศสามารถโหวตเลือกยูรุเคียระซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุด และผู้ที่สามารถส่งเข้าประกวดต้องเป็นองค์กรสาธารณะหรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการเชิญชวนให้ประชาชนมาเยือนท้องถิ่นของตน มาสคอตที่สามารถเข้าประกวดได้จะต้องมีคุณสมบัติ 3 ข้อ คือ

1) ต้องมีลักษณะที่สะท้อนให้เห็นความรักท้องถิ่น
2) ต้องมีบุคลิกที่มีลักษณะเฉพาะตัวไม่ว่าจะทำกริยาใด ๆ
3) ต้องมีลักษณะผสมผสานระหว่างความน่ารักกับความง่าย ๆ และสบาย ๆ

ปัจจุบันมีการตั้งสมาคมมาสคอตท้องถิ่นแห่งประเทศญี่ปุ่นหรือสมาคม “นิฮงโกะโตจิเคียรักต้า” (Nihon Gotochi Character)(ご当地キャラクター協会)มีหน้าที่ถ่ายทอดบทบาทหน้าที่ของ “โกะโตจิเคียระ” ของแต่ละท้องถิ่นให้ประชาชนทั่วไปได้รู้จักรวมไปถึงการประชาสัมพันธ์กิจกรรม สินค้าและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับโกะโตจิเคียระเพื่อเป็นการเชิญชวนให้มาเยือนเมืองเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูท้องถิ่น

นอกจากโกะโตจิเคียระแล้ว ในประเทศญี่ปุ่นยังมีการใช้ตัวมาสคอตเพื่อกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ขององค์กรต่างๆ เช่น กิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับการใช้รถใช้ถนนและกิจกรรมการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น จากตัวเลขในปีค.ศ.2013 พบว่า มีการใช้มาสคอตมากกว่า 1,000 ตัวในประเทศญี่ปุ่นโดยใช้ในหลายกรณี เช่น ประชาสัมพันธ์ในงานประชาสัมพันธ์เพื่อการค้าและเพื่อการท่องเที่ยว

ปัจจุบันเราสามารถเห็นสินค้าของจังหวัด หน่วยงาน มหาวิทยาลัยและองค์กรต่าง ๆ ที่นำมาสคอตติดอยู่บนบรรจุภัณฑ์หรือมีการผลิตมาสคอตเป็นสินค้าในรูปแบบต่าง ๆ มาสคอตเหล่านี้มีรูปแบบที่หลากหลาย เช่น มีลักษณะมาจากบุคคลในประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของท้องถิ่น มีการรวมลักษณะเฉพาะของเมือง หรือมาจากจินตนาการซึ่งความเกี่ยวข้องกับเมืองนั้นและกลายเป็นสัญลักษณ์ของเมือง เช่น คุมะมง ฮิโกะเนียน และฟุนัชชี่ มาสคอตท้องถิ่นเหล่านี้มีบทบาทหน้าที่ในการช่วยฟื้นฟูท้องถิ่นโดยการเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ต่างๆของเมือง รวมถึงถูกนำไปสร้างสรรค์เป็นสัญลักษณ์ที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวและการส่งเสริมสินค้าท้องถิ่นอันเป็นกิจกรรมร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในท้องถิ่นที่มีกระบวนการในการสร้างและทำการตลาดได้อย่างประสบความสำเร็จในท้องถิ่นหลายแห่งในประเทศญี่ปุ่น



****************************************

พบกับสาระความรู้กับศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาฯ ได้ในทุกวันพุธ
ส่วนตอนต่อไปจะเป็นความรู้เกี่ยวกับอะไร อย่าลืมติดตามรับชม!!!

ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการบรรยายเชิงวิชาการออนไลน์ "歌舞伎に親しむ " โดย Dr. Ryo Kimura ー 木村涼博士(岐阜女子大学)による「歌舞伎に親しむ 」ご講義(ZOOM)のご案内

 

ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ 
ขอประชาสัมพันธ์กิจกรรมการบรรยายเชิงวิชาการออนไลน์ในหัวข้อ  
"歌舞伎に親しむ "  โดย  Dr. Ryo Kimura จาก Gifu Women's University
 ในวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13.00 - 15.00น.
 ผ่านแอพลิเคชั่น Zoom (บรรยายเป็นภาษาญี่ปุ่น ไม่มีล่ามแปลภาษาไทย)

ท่านที่สนใจ สามารถลงทะเบียนได้ผ่านทางQR Codeด้านล่าง หรือทาง https://cmu.to/k3P0l
 โดยทางศูนย์ฯจะส่งอีเมลช่องทางการเข้าร่วมให้ผู้ลงทะเบียนผ่านทางe-mailในก่อนวันงาน
 (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

แล้วมาทำความรู้จักคาบูกิกันเยอะๆนะคะ


2月11日(土)13-15時、
木村涼博士(岐阜女子大学)による「歌舞伎に親しむ 」のご講義が
ZOOMにて行われます。ご講義は日本語で、タイ語通訳はありません。
日本の伝統芸能歌舞伎の歴史的展開を知ることのできる非常によい機会となります。

ご興味のある方は QR CODE 、あるいは https://cmu.to/k3P0l から
ご登録お願いいたします。
※ご登録いただいた方には開催前日に、参加リンクをEメールにてお送りします。

ご参加のほど、よろしくお願いいたします!




ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาเข้าพบท่านกงสุลใหญ่ญี่ปุ่น ณ นครเชียงใหม - 在チェンマイ日本国総領事館への訪問。

 


เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา รองศาสตราจารย์เบญจางค์ ใจใส แดร์ อาร์สลานิออง หัวหน้าศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา  อาจารย ์ Ryota Wakasone รองหัวหน้าศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ระวี จันทร์ส่อง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช ศิริวิทยากร รองคณบดีฝ่ายวิจัยและความเป็นเลิศทางวิชาการ ได้มีโอกาสเข้าพบ คุณฮิกุจิ เคอิจิ กงสุลใหญ่ญี่ปุ่น ณ นครเชียงใหม คุณชินเซกิ ฮิโรมิ รองกงสุล และคุณนมิตา วาระนิรันดร์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าวสารและวัฒนธรรม สถานกงสุลใหญ่ญี่ปุ่น ณ นครเชียงใหม่ เนื่องในวาระโอกาส ส่งท้ายปีเก่าตอนรับปีใหม่ 2566 และรายงานการดำเนินกิจตกรรมของศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา

ซึ่งทางศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาขอขอบพระคุณทางสถานกงสุลใหญ่ญี่ปุ่น ณ นครเชียงใหม่เป็นอย่างสูงสำหรับการต้อนรับอันอบอุ่นและความสัมพันธ์อันดีที่มีแก่กันเสมอมาค่ะ


 1月30日(月)、日本研究センターのベンジャーン所長と若曽根副所長が、チェンマイ大学人文学部ラウィー学部長、ティーラヌット副学部長とともに、在チェンマイ日本国総領事館へご挨拶に伺いました。樋口惠一 総領事と新関大海 副領事、広報文化部ナミター様とともに会議し、日本研究センターのこれまでの活動について報告しました。
 在チェンマイ日本国総領事館の皆様には、大変あたたかく迎えていただきました。誠にありがとうございました。この場をお借りしまして、御礼申し上げます。