ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ขอประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วม
チェンマイ大学人文学部日本研究センター公開講義のご案内
ในหัวข้อ
"ปัญญาชนญี่ปุ่นในสมัยใหม่
~การค้นหาข้อสรุปของแนวคิดทางตะวันออกและตะวันตก~"
"近世・近代日本の知識人
~東洋の知と西洋の知の包摂へ~"
วันเสาร์ที่ 23 เมษายน 2559
เวลา 9.00 – 12.00 น. และ 13.00 – 16.00 น.
ณ ห้องศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา HB6 ชั้น 1 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2016年4月23日 (土)
時間:9.00 -1200, 13.00-16.00
チェンマイ大学人文学部6号館1階 日本研究センター
ในช่วงสมัยเอโดะ ระหว่างที่ปัญญาชนสำนักขงจื๊อซึ่งเป็นผู้ที่สนับสนุนด้านวิชาการของญี่ปุ่นได้รับเอาวิชาความรู้มากมายมาจากจีนและเกาหลี
ก็ได้พัฒนาแนวคิดให้เกิดลักษณะเฉพาะตัว ทำให้เกิดการก่อเป็นรูปเป็นร่างของความรู้รูปแบบสมัยใหม่ในเอโดะตอนปลาย ยิ่งไปกว่านั้น
ในตอนต้นของสมัยเมจิ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการับเอาแนวความคิดจากหลากหลายประเทศทางตะวันตกเข้ามาในญี่ปุ่นอย่างแพร่หลาย
ปัญญาชนญี่ปุ่นทั้งหลายต่างค้นหาแนวความคิดที่เป็นรูปแบบเฉพาะตัวของญี่ปุ่นซึ่งเป็นการผสมผสานความคิดระหว่างแนวคิดทางตะวันออกและตะวันตก
การบรรยายครั้งนี้
มีเป้าหมายที่จะอธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของการรับแนวความคิดจากจีน เกาหลี
และจากหลากหลายประเทศทางตะวันตกของปัญญาชนญี่ปุ่นในสมัยใหม่
และกระบวนการการค้นหาแนวความคิดที่เป็นรูปแบบเฉพาะตัวของญี่ปุ่นให้กับนักศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท
โดยให้เข้าใจได้อย่างง่าย
江戸期、日本の学術を支えてきた儒学者たちは、中国や韓国から導入された学問体系を盛んに受容しつつも、独自に発展させ、江戸末期には近代化のための学問的下地を形成していった。さらに明治期に入り、西洋諸国からの近代思想が盛んに導入されていく中で、日本の知識人たちは東洋思想と西洋思想の融合させた独自の日本思想を模索していくことになった。
本公開講義では、近世・近代の日本の知識人たちによる中国・韓国、西欧諸国の思想のダイナミックな受容と、日本思想の独自の模索の過程を、修士・学士の学生に対してわかりやすく解説することを目的として開講する。
เวลา 9:00-12:00 น. “แนวคิดในสมัยเอโดะโดยสังเขป”
วิทยากร:อาจารย์ Isao YAMAKI
(หัวหน้าสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น)
เนื้อหา:ช่วงแรกเป็นการบรรยายเกี่ยวกับสำนักขงจื๊อและสำนักขงจื๊อใหม่ในตอนต้นจนถึงตอนกลางของสมัยเอโดะ ส่วนในครึ่งหลังเป็นการบรรยายเกี่ยวกับการเริ่มต้นของตะวันตกศึกษาและญี่ปุ่นศึกษาโบราณ รวมไปถึงการตีความเกี่ยวกับแนวคิดการขับไล่ชาวต่างชาติในตอนปลายของสมัยเอโดะ
ผู้ดำเนินรายการ:อาจารย์ ดร. Masayuki NISHIDA
(รองหัวหน้าศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
9:00-12:00 『江戸思想概略』
講師:八巻 一三男講師
(ファーイースタン大学ビジネス日本語学科長)
内容:前半、江戸初期から中期にかけての朱子学、儒学の受容について、後半、江戸後期の洋学の起こりと国学、攘夷思想について解説する。
モデレーター:西田昌之講師
(チェンマイ大学人文学部日本研究センター副センター長)
เวลา 13:00-16:00 น. “การกำเนิดนักปรัชญาหลังสมัยเมจิ”
วิทยากร:ศาสตราจารย์ ดร. Taro MOCHIZUKI
ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียน มหาวิทยาลัยโอซาก้า (สำนักงานกรุงเทพฯ)
เนื้อหา:การบรรยายเกี่ยวกับปรัชญาที่ถูกเรียกว่าปรัชญาแบบNISHIDA ซึ่งKitarou
NISHIDA นักปรัชญาที่แท้จริงคนแรกในญี่ปุ่นสมัยใหม่
ได้สร้างระบบขึ้นด้วยตนเอง และการก่อเป็นรูปร่างของปรัชญาKitarou
NISHIDA ตั้งแต่สมัยเมจิจนถึงสมัยไทโช
รวมไปถึงการเข้าสู่สมัยโชวะ
โดยอภิปรายจากประเด็นภูมิหลังทางประวัติศาสตร์
อีกทั้งการบรรยายถึงความเกี่ยวเนื่องไปถึงนักปรัชญารุ่นหลัง
ผู้ดำเนินรายการและล่ามแปลภาษา:อาจารย์ ดร. ทนพร ตรีรัตน์สกุลชัย
(อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
13:00-16:00 『明治期以降における哲学者の誕生』
講師:望月太郎 教授
(大阪大学ASEANセンター(バンコクオフィス)センター長)
内容:西田哲学と呼ばれる独自の体系を構築した、近代日本初の本格的哲学者、西田幾多郎の思想形成を、明治から大正、昭和へと至る時代背景も含めて論じる。また、後続の哲学者との関連についても触れたい。
モデレーター・タイ語通訳:タナポーン・トリラッサクルチャイ講師
(チェンマイ大学人文学部日本研究センター講師兼東洋言語学科日本語科講師)
บรรยาย : ภาษาไทย
使用言語:タイ語
(เฉพาะช่วงบ่ายบรรยายเป็นภาษาญี่ปุ่น แต่มีล่ามแปลเป็นภาษาไทย)
เข้าร่วมฟรี ไม่เสียค่าลงทะเบียน!!
ผู้ที่สนใจเข้าร่วมฯ กรุณาแจ้งความประสงค์/ สำรองที่นั่งล่วงหน้า
ภายในวันพุธที่ 20 เมษายน 2559
ที่เบอร์โทรศัพท์ 053-943284
参加費無料!!
参加ご希望の方は以下、
日本研究センターの電話番号 053-943284 までご連絡ください。
申込期限:2016年4月20日まで
*午後の授業のみ、日本語とタイ語で講義が行われます。
จัดโดย :ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เครือข่ายภาษาญี่ปุ่นและญี่ปุ่นศึกษาระดับอุดมศึกษาภาคเหนือ
สนับสนุนโดย:สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
ศูนย์อาเซียน มหาวิทยาลัยโอซาก้า (สำนักงานกรุงเทพฯ)
และ หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ
主催:チェンマイ大学人文学部日本研究センター
タイ北部日本語・日本研究コンソーシアム
後援:ファーイースタン大学ビジネス日本語学科
大阪大学ASEANセンター(バンコクオフィス)
助成:バンコク日本人商工会議所