Apr 28, 2017

Mr. Atsushi Aoki กงสุลญี่ปุ่น ณ นครเชียงใหม่ เข้าเยี่ยมศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาฯ/ 青木敦史領事のご訪問

ในวันที่ 27  เมษายน 2560 เวลา 14.00 น. อาจารย์สรัญญา คงจิตต์ หัวหน้าศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา และอาจารย์ ดร. Masayuki Nishida รองหัวหน้าศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมให้การต้อนรับ Mr. Atsushi Aoki  เข้ารับตำแหน่งใหม่ในฐานะ กงสุลญี่ปุ่น ณ นครเชียงใหม่ พร้อมด้วยอดีตรองกงสุล Mr. Atsushi Okazaki และคุณอาทิตยา พรรณเรื่องรอง ที่ปรึกษาด้านการศึกษา สถานกงสุลใหญ่ญี่ปุ่น ณ นครเชียงใหม่ ในโอกาสเข้าพบเพื่อแนะนำตัว และกล่าวทักทาย เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ พร้อมเข้าเยี่ยมชมศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Mr. Atsushi Okazaki อดีตรองกงสุลญี่ปุ่น เป็นกำลังสำคัญที่คอยช่วยเหลือและสนับสนุนศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา โดยศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาฯ ขอเป็นกำลังใจให้ Mr. Atsushi Okazaki ประสบความสำเร็จในการทำงานต่อไป

2016年4月27日、在チェンマイ日本国総領事館青木敦史新領事、岡崎淳前副領事および総領事館留学アドバイザー・アーティットヤー・パンルワンローン氏がチェンマイ大学人文学部日本研究センターに着任挨拶のためにご来訪され、チェンマイ大学人文学部日本研究センターのサランヤー・コンジット所長と西田昌之副所長がお迎えしました。

センターの発展にご貢献くださった岡崎副領事に対しまして、センター一同、あらためてお礼申し上げますとともに、今後も日本において一層のご活躍をお祈り申し上げます。


Apr 24, 2017

Report การบรรยายเชิงปฏิบัติการด้านญี่ปุ่นศึกษา"ล่ามภาษาญี่ปุ่นและการเป็นล่ามมืออาชีพ"/Report 日本研究公開セミナー『日本語通訳・翻訳のプロフェッショナル』

เมื่อวันเสาร์ที่ 22 เมษายน 2560 เวลา 9.00 – 16.00 น. ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดการบรรยายเชิงวิชาการด้านญี่ปุ่นศึกษาในหัวข้อ "ล่ามภาษาญี่ปุ่นและการเป็นล่ามมืออาชีพ" ณ ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้รับเกียรติจาก อาจารย์ กัลยา แสนใจมูล (อาจารย์สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยพายัพ) และคุณ Hisao HOROKOSHI (รองกงสุลใหญ่ญี่ปุ่น ณ นครเชียงใหม่) เดินทางมาเป็นวิทยากรผู้บรรยาย

การบรรยายช่วงเช้า อาจารย์กัลยา แสนใจมูล บรรยายเกี่ยวกับประสบการณ์และทักษะการทำงานในบริษัทญี่ปุ่น สอนคำศัพท์ที่มักพบในการทำงานล่ามในบริษัทญี่ปุ่น และมีการแบ่งกลุ่มเพื่อฝึกปฏิบัติการเป็นล่ามในสถานการณ์หรือเหตุการณ์จำลอง

การบรรยายช่วงบ่าย คุณ Hisao HORIKOSHI บรรยายเกี่ยวกับประสบการณ์การปฏิบัติหน้าที่ล่ามให้แก่บุคคลสำคัญทางการเมืองและการทูตระหว่างประเทศ การเตรียมตัวที่สำคัญและการฝึกทักษะการทำงานสำหรับการเป็นล่ามภาษาญี่ปุ่นด้านการทูต

2017年4月22日(土)9:00-16:00、チェンマイ大学人文学部日本研究センターはパヤップ大学日本語日本文化学科講師 カンラヤー・ セーンジャイムーン先生、在チェンマイ日本国総領事館 堀越久男総領事代理をお招きして、日本研究公開講演『日本語通訳・翻訳のプロフェッショナル』を日本研究センター講義室で開催しました。

午前中のセミナーでは、カンラヤー先生が日本企業での企業通訳の体験、スキルについてご講義されたうえで、各グループに分け、企業通訳に必要な専門用語、会話を練習しました。

午後のセミナーでは、堀越総領事代理が日本の外交通訳としての経験とVIP通訳に必要な準備、スキルについてご講義いただきました。

ผศ. ณรงค์ ศิขิรัมย์
(ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย และบริการวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
ナロン・シキラム准教授
(チェンマイ大学人文学部学術研究副学部長)

----
หัวข้อที่ 1 : ล่ามในบริษัทญี่ปุ่น
อาจารย์ กัลยา แสนใจมูล
อาจารย์สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น
มหาวิทยาลัยพายัพ

講義1:『日系企業の通訳』
カンラヤー・ セーンジャイムーン
パヤップ大学日本語日本文化学科講師

อาจารย์ กัลยา แสนใจมูล
(อาจารย์สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นมหาวิทยาลัยพายัพ)
カンラヤー・ セーンジャイムーン先生
パヤップ大学日本語日本文化学科講師









―――
หัวข้อที่ 2 : ล่ามภาษาญี่ปุ่นด้านการทูต
คุณ Hisao HOROKOSHI
รองกงสุลใหญ่ญี่ปุ่น ณ นครเชียงใหม่

講義2:『外交における日本語通訳』
堀越久男 総領事代理
在チェンマイ日本国総領事館

คุณ Hisao HOROKOSHI
รองกงสุลใหญ่ญี่ปุ่น ณ นครเชียงใหม่
堀越久男 総領事代理
(在チェンマイ日本国総領事館)





-----------------------------

อาจารย์ สรัญญา คงจิตต์
(หัวหน้าศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
サランヤー・コンジット所長
チェンマイ大学人文学部日本研究センター



ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาฯ ขอขอบพระคุณผู้เข้าร่วมทุกท่านที่สละเวลามาเข้าร่วมงานครั้งนี้
お越しいただきましてありがとうございました。

Apr 21, 2017

นักศึกษาแลกเปลี่ยนจากมหาวิทยาลัย Kanda University of International Studies ได้เดินทางมาที่ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา/ 神田外語大学留学生訪問

วันที่ 20 เมษายน 2560 Ms. Yukie SUZUKI และ Ms. Asa SAITO นักศึกษาแลกเปลี่ยนจากมหาวิทยาลัย Kanda University of International Studies ประเทศญี่ปุ่น ได้เดินทางมาที่ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา
ขอให้นักศึกษาทั้งสองท่านประสบความสำเร็จทั้งการศึกษาและการแลกเปลี่ยนในครั้งนี้ สู้ๆ!

2017年4月20日、神田外語大学の留学生としてチェンマイ大学に来ている鈴木幸恵さんと齋藤有里さんが日本研究センターに訪問してくれました。
チェンマイ大学での勉強や交流を頑張ってください!


Apr 12, 2017

แนะนำหนังสือ / 図書紹介

ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอแนะนำหนังสือ "รายงานการประชุมนักศึกษานานาชาติ ณ มหาวิทยาลัยOchanomizu 2016" (เรียบเรียงโดย มหาวิทยาลัยOchanomizu)

โดยในการประชุมครั้งนี้ ผู้แทนนักศึกษา นางสาวรสิกา จิรานุกรม, นางสาวธัญญพร อภิยะทะกูล, นางสาวภัทรานนท์ สายผัด, และนางสาวแพรพิไล เรือนรัศมีประชา จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมการประชุมฯ ณ มหาวิทยาลัยOchanomizu ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 9-17 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ผ่านมา

お茶の水女子大学で行われた「2016年第6回国際学生フォーラム」の報告書が発行されました。同フォーラムは、お茶の水女子大学が2017年2月9-17日に日本 東京で開催し、チェンマイ大学から学生4名、修士課程のラシガー・チラヌコロムさん、学部生のタンヤポーン・アピヤカンタクンさん、パッタラ―ノン・サーイパットさん、プレイピライ・ルアンラスミプラチャーさんが参加しました。ご一読ください。

Apr 11, 2017

Report การบรรยายหัวข้อ "Trading Card Game: Marketing, Rules, Revolution" โดย อ.ปิยธร แก้ววัฒนะ / ピヤトーン・ゲーウワタナ講師講義「トレーディングカードゲーム: 商法、ルール、進化」開催

วันที่ 9 เมษายน 2560 อาจารย์ ปิยธร แก้ววัฒนะ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ทำการบรรยายในหัวข้อ "Trading Card Game: Marketing, Rules, Revolution" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอน หลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาญี่ปุ่นศึกษา กระบวนวิชา"สำรวจวัฒนธรรมญี่ปุ่น" ของอาจารย์ ดร. มาซายูกิ นิซิดะ ณ ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ในการบรรยายครั้งนี้อาจารย์ มาซายูกิ นิซิดะได้บรรยายและวิเคราะห์เกี่ยวกับนักสะสมTrading Cards โดยใช้ทฤษฎีการบริโภคเรื่องเล่า(narrative consumption theory) ในหัวข้อ"Trading Card Game และการบริโภคเรื่องเล่า"  และในส่วนของอาจารย์ ปิยธร แก้ววัฒนะได้บรรยายและวิเคราะห์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์การพัฒนาTrading CardGameในญี่ปุ่นโดยใช้ตัวอย่าง”Magic: the gathering ” และ“Yūgiō” ในหัวข้อ "Trading Card Game: Marketing, Rules, Revolution"

2017年4月9日日本研究センター教室にて、チェンマイ大学人文学部東洋言語学科日本語科ピヤトーン・ゲーウワタナ講師が『日本文化の探求 』(担当:西田昌之講師)の授業で、「トレーディングカードゲーム: 商法、ルール、進化」の講義を行いました。

講義ではまず西田講師が「トレーディングカードゲームと物語消費」というタイトルで物語消費論からトレーディンカードのコレクターの分析を紹介しました。

その後にピヤトーン講師が「トレーディングカードゲーム:商法、ルール、進化」というタイトルで、『マジック・ザ・ギャザリング』、『遊戯王』を取り上げ、日本におけるトレーディングカードゲーム発展史を実例を用いて講義しました。





Apr 7, 2017

ประชาสัมพันธ์ การบรรยายเชิงปฏิบัติการด้านญี่ปุ่นศึกษา"ล่ามภาษาญี่ปุ่นและการเป็นล่ามมืออาชีพ"/おしらせ 日本研究公開セミナー『日本語通訳・翻訳のプロフェッショナル』

ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ขอประชาสัมพันธ์เชิญชวนคณาจารย์และนักศึกษาเข้าร่วมการบรรยายเชิงปฏิบัติการด้านญี่ปุ่นศึกษา
チェンマイ大学人文学部日本研究センターより
講演会のご案内をいたします。


ในหัวข้อ "ล่ามภาษาญี่ปุ่นและการเป็นล่ามมืออาชีพ"
วันเสาร์ที่ 22 เมษายน 2560
เวลา 9:00-16:00


น.9:00-12:00 น. หัวข้อ "ล่ามในบริษัทญี่ปุ่น"
บรรยายโดย อ.กัลยา แสนใจมูล อาจารย์สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น
มหาวิทยาลัยพายัพ


13:00-16:00 น. หัวข้อ "ล่ามภาษาญี่ปุ่นด้านการทูต"
บรรยายโดย คุณ Hisao HOROKOSHI รองกงสุลใหญ่ญี่ปุ่น ณ นครเชียงใหม่
ณ ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บรรยาย : ภาษาไทย

テーマ:『日本語通訳・翻訳のプロフェッショナル』

2017年4月22日9時から16時まで


1.『日系企業の通訳

ガンラヤー・ セーンジャイムーン

パヤップ大学日本語日本文化学科講師

時間:9:00-12:00

2.『外交における日本語通訳

堀越久男
総領事代理在チェンマイ日本国総領事館

時間:13:00-16:00


チェンマイ大学人文学部日本研究センター6号館1階

使用言語:タイ語


การรับสมัครนักศึกษาใหม่:หลักสูตรปริญญาโท (รอบที่2) 2560/2017年度修士学生募集開始(第2次)

รอบที่ 2 :
สมัครผ่านระบบออนไลน์:
วันที่ 20 มีนาคม จนถึง วันที่ 12 เมษายน 2560

第2次募集受付:

オンライン受付:2017年3月20日から4月12日まで

การรับสมัครนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา http://www.grad.cmu.ac.th/admissions/
オンライン受付先: http://www.grad.cmu.ac.th/admissions/


กำหนดสอบข้อเขียน : วันจันทร์ที่ 24 เมษายน 2560 
ณ ห้องศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อาคาร HB6)
筆記試験:2017年4月24日(月)場所:チェンマイ大学人文学部6号館日本研究センター

กำหนดสอบสัมภาษณ์ (เฉพาะผู้ที่สอบผ่านข้อเขียน): วันพุธที่ 26 เมษายน 2560 
ณ ห้องศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อาคาร HB6)
面接試験:2017年4月26日(水)場所:チェンマイ大学人文学部6号館日本研究センター 

วันประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือก:วันที่ 10 พฤษภาคม 2560
合格発表日:2017年5月10日

ติดต่อ-สอบถาม รายละเอียด ขั้นตอนการสมัคร เพิ่มเติมได้ที่บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: 
大学院応募受付先: 
โทรศัพท์ 053-942405-6

หากผู้สมัครต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรฯ เพิ่มเติม
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและติดต่อสอบถามเพิ่มได้ที่: 
カリキュラムについての詳細: 
โทรศัพท์/電話番号/Telephone: 053-943284 
อีเมล/Eメール/E-mail: cmujapancenter@gmail.com

ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาฯ ได้รับหนังสือบริจาคจาก เจแปนฟาวน์เดชั่น(Japan Foundation) / 国際交流基金より図書寄贈

เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2560 ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาฯ ได้รับมอบหนังสือและDVDเกี่ยวกับญี่ปุ่นศึกษา จากเจแปนฟาวน์เดชั่น(Japan Foundation) ประเทศญี่ปุ่น เพื่อใช้ประโยชน์ตามพันธกิจของศูนย์ฯ ต่อไป
โดยมีรายชื่อหนังสือดังต่อไปนี้

2017年4月3日国際交流基金(ジャパンファウンデーション)より日本研究関連図書とDVDの寄贈を受けました。


1. 吉田正紀『異文化結婚を生きる―日本とインドネシア/文化の接触・変容・再創造』 新泉社 2010年
2. ストラザーン, M『部分的なつながり』水声社 2015年
3. 大久保喬樹『日本人論の系譜』中公新書 2003年
4. ベック,U/ベック=ゲルンスハイム,E. (伊藤美登里訳)『愛は遠く離れて―グローバル時代の「家族」のかたち』岩波書店 2014年
5. モーリス=スズキ, テッサ『日本を再発明する―時間・空間・ネーション』 以文社2014年
6. 山田昌弘『少子社会日本』岩波新書 2007年
7. 西河克己 (監督)『伊豆の踊子』DVD
8. トラン・アン・ユン (監督)『ノルウェイの森』DVD
9. 行定勲(監督)『春の雪』DVD
10. 常光徹『学校の怪談: 口承文芸の展開と諸相』ミネルヴァ書房 2013年
11. 岡田斗司夫『オタクはすでに死んでいる』新潮新書 2008年
12. 宮台真司『オタク的想像力のリミット: <歴史・空間・交流>から問う』筑摩書房 2014年
13. 小森健太郎『神、さもなくば残念。――2000年代アニメ思想批評』作品社 2013年
14. 川村邦光『オトメの祈り―近代女性イメージの誕生』紀伊國屋書店 1993年
15. 稲垣 恭子『女学校と女学生―教養・たしなみ・モダン文化 (中公新書)』中公新書2007年
16.『『少女の友』創刊100周年記念号 明治・大正・昭和ベストセレクション』実業之日本社 2009年
17. 川端康成『乙女の港 (実業之日本社文庫 - 少女の友コレクション)』実業之日本社 2011年
18. 祐成保志『〈住宅〉の歴史社会学―日常生活をめぐる啓蒙・動員・産業化』新曜社2008年
19. 山本里奈『マイホーム神話の生成と臨界――住宅社会学の試み』岩波書店 2014年
20. 上野千鶴子『家族を容れるハコ 家族を超えるハコ』平凡社 2002年
21. 間々田孝夫『消費社会論 (有斐閣コンパクト)』有斐閣 2000年
22. 松村直行『童謡・唱歌でたどる音楽教科書のあゆみ―明治・大正・昭和初中期』和泉書院 2011年
23. 渡辺 裕『歌う国民―唱歌、校歌、うたごえ (中公新書)』 中央公論新社 2010年
24. 輪島 裕介『創られた「日本の心」神話 「演歌」をめぐる戦後大衆音楽史 (光文社新書)』光文社 2010年
25. 輪島 裕介『踊る昭和歌謡―リズムからみる大衆音楽 (NHK出版新書 454)』NHK出版 2015年
26. なかにし礼『歌謡曲から「昭和」を読む (NHK出版新書 366)』 NHK出版 2011年
27. 木村信之『昭和戦後音楽教育史』音楽之友社 1998年
28. 高井尚之『カフェと日本人 (講談社現代新書)』講談社 2014年
29. 鳥居 泰彦『はじめての統計学』日本経済新聞社 1994年
30. 小杉 礼子・宮本 みち子『下層化する女性たち: 労働と家庭からの排除と貧困』勁草書房 2015年
31. 熊倉 功夫『日本料理の歴史』吉川弘文館 2007年
32. エンブリー, ジョン・F『日本の村須恵村』日本経済評論社 2005年
33. スミス, ロバート・J 他『須恵村の女たち : 暮しの民俗誌』御茶の水書房 1987年
34. Azuma, H. Otaku: Japan's Database Animals. University of Minnesota. 2009.
35. Yano, C. R. Pink Globalization: Hello Kitty's Trek across the Pacific. Duke University Press. 2013.
36. Kawano, S. and Roberts, G.S. and Long, S.O.(Ed.) Capturing Contemporary Japan: Differentiation and Uncertainty. University of Hawaii Press 2014.
37. Kawamura, Y. Fashioning Japanese Subcultures. Bloomsbury Academic. 2012.
38. Monden, Masafumi. Japanese Fashion Cultures: Dress and Gender in Contemporary Japan (Dress, Body, Culture). Bloomsbury Academic. 2015.

กิจกรรมทัศนศึกษาเมืองเชียงใหม่ในโครงการร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่-มหาวิทยาลัยKyoto Seika /京都精華大学・チェンマイ大学教育協力プログラム「タイ社会論」実地研修実施

เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2560 นักศึกษา2คนจากมหาวิทยาลัยKyoto Seika เข้าร่วมกิจกรรมทัศนศึกษาเมืองเชียงใหม่ในการเรียนการสอนวิชา "สังคมไทย" โดยอาจารย์ ดร.Masayuki Nishida และ อาจารย์ Ryota Wakasone  ในโครงการร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่-มหาวิทยาลัยKyoto Saika ซึ่งผศ. เบญจางค์ ใจใส แดร์ อาร์สลานิออง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำหน้าที่หัวหน้าโครงการ 

2017年4月4日、チェンマイ大学人文学部の京都精華大学教育交流プログラム(プロジェクトリーダー:ベーンジャーン・ジャイサイ・デア・アルスラニアン助教授)の「タイ社会論」(担当:西田昌之講師・若曽根了太講師)において、京都精華大学の学生二名のチェンマイ市内実地実習を実施しました。

คุณ Ryo Kaneda และ คุณ Takumi Kashimura
金田さんと柏村拓実さん 
เดินทางไปในเมืองโดยรถสองแถว
ソンテーウ(乗り合いバス)で市内へ

ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์
三王広場

พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา(ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่เก่า)
ラーンナー民俗博物館(旧チェンマイ県裁判所)

เสาอินทขิล
インタキン柱

วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
ワット・チェディールアン

พญามังราย
マンライ王像

วัดเชียงมั่น
ワット・チェンマン

ประตูช้างเผือก
白象門(チェンマイ北門)

Apr 5, 2017

การสอบจบ(defend) และการสอบหัวข้อโครงร่างฯ (proposal) ของนักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาญี่ปุ่น 3/2559/ 2016年度第3回日本研究修士課程最終口頭試問(ディフェンス)及びプロポーザル試験開催

เมื่ออาทิตย์ที่ 1 เมษายน 2560 เวลา 13.00 - 16.00 น. ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ได้จัดการสอบจบ(defend) และการสอบหัวข้อโครงร่างฯ (proposal)ของนักศึกษาปริญญาโทหลักสูตรญี่ปุ่นศึกษา

2017年3月1日(日)13:00-16:00 チェンマイ大学人文学部日本研究センターにおいて、2016年度第3回目
となる最終口頭試問とプロポーザル審査を実施しました。

คณะกรรมการได้ตัดสินให้ผู้เข้าสอบ 1ท่านผ่านการสอบจบ และ 1ท่านผ่านการสอบหัวข้อโครงร่างฯ ในครั้งนี้ หากผู้ที่ผ่านการสอบจบได้รับการรับรองจากคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาในระดับคณะและมหาวิทยาลัย ก็จะถือว่าเป็นผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรญี่ปุ่นศึกษา

ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาขอแสดงความยินดีกับทั้ง 2 ท่าน มา ณ โอกาสนี้

審査の結果、1名を最終試問通過、1名をプロポーザル試験通過とすることに決定しました。今後、学部、大学院からの承認を受けることになります。




Apr 4, 2017

【Report】การบรรยายเชิงวิชาการ "การทำงานของชายหญิงที่แปรเปลี่ยน:ญี่ปุ่นจะเป็นสังคมที่ผู้หญิงเปล่งประกายได้จริงหรือ?"/ Report 日本研究セミナー「変わる女性の働き方、男性の働き方: 日本は女性が輝ける社会に変わりうるのか?」

เมื่อวันเสาร์ที่ 1 เมษายน 2560 เวลา 13.00 – 16.00 น. ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดการบรรยายเชิงวิชาการด้านญี่ปุ่นศึกษาในหัวข้อ "การทำงานของชายหญิงที่แปรเปลี่ยน:ญี่ปุ่นจะเป็นสังคมที่ผู้หญิงเปล่งประกายได้จริงหรือ?" ณ ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา ซึ่ง ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.ปิยวรรณ อัศวราชันย์ จาก สาขาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาไทยและภาษาวัฒนธรรมตะวันออก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาเป็นวิทยากรบรรยาย

พร้อม อาจารย์ ดร. มาซายูกิ นิซิดะ รองหัวหน้าศูนย์ญีปุ่นศึกษาเข้าร่วมเป็นวิทยากรบรรยาย และอาจารย์ สรัญญา คงจิตต์ (หัวหน้าศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ทำหน้าที่ผู้ดำเนินรายการ

ในการบรรยายครั้งนี้ อาจารย์ ดร.ปิยวรรณ อัศวราชันย์ ได้บรรยายในหัวข้อ "ปัญหา "มะตะฮะระ" - บทบาทที่ขัดแย้งเมื่อแรงงานเป็นแม่" โดยได้อธิบายถึงปัญหาของผู้หญิงญี่ปุ่นที่ทำงานในบริษัท ซึ่งถูกกดดัน และคุกคาม ในรูปแบบและลักษณะต่าง ๆ จากสภาวะที่ตนเองกลายเป็น "แม่คน" และรวมไปถึงความพยายามในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวของรัฐบาล

อาจารย์ ดร. มาซายูกิ นิซิดะ ได้บรรยายในหัวข้อ "การมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูบุตร--ผู้ชายญี่ปุ่นที่กำลังเปลี่ยนไป" โดยได้อธิบายเกี่ยวกับ มาตรการและการดำเนินการต่าง ๆ ขององค์กร/บริษัทญี่ปุ่น เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้ชายชาวญี่ปุ่นได้เข้าไปมีส่วนช่วยในการเลี้ยงดูบุตรให้มากยิ่งขึ้น

2017年4月1日(土)13:00-16:00、チェンマイ大学人文学部日本研究センターはタマサート大学教養学部タイ語・東洋言語文化学科日本語科講師のピヤワン・アサワラシャン先生をお招きして、日本研究セミナー公開講演『変わる女性の働き方、男性の働き方: 日本は女性が輝ける社会に変わりうるのか?』を日本研究センター教室で開催しました。

同時にチェンマイ大学人文学部日本研究センター西田昌之副所長も講師として参加し、サランヤー・コンジット 所長が務めました。

講演では、前半でピヤワン・アサワラシャン先生が『「マタハラ」問題――日本における母親と働く女性との役割の矛盾』の論題で、日本の働く女性の抱える問題と日本の取り組みについて紹介しました。後半では、西田昌之副所長から「男性の育児参加ーー変わりゆく日本の男性」の論題で、男性の視点から育児参加の問題とその改善の取り組みについて解説しました。

อาจารย์ ดร.ปิยวรรณ อัศวราชันย์
สาขาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาไทยและภาษาวัฒนธรรมตะวันออก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ピヤワン・アサワラシャン先生
タマサート大学教養学部タイ語・東洋言語文化学科日本語科講師





อาจารย์ ดร. มาซายูกิ นิซิดะ
รองหัวหน้าศูนย์ญีปุ่นศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
西田昌之副所長
チェンマイ大学人文学部日本研究センター


อาจารย์ สรัญญา คงจิตต์
หัวหน้าศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(ขวา₎
サランヤー・コンジット 所長
チェンマイ大学人文学部日本研究センター(右)