Mar 27, 2019

นักศึกษาฝึกงาน / 学生インターシップ

ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับนักศึกษาแลกเปลี่ยน จาก Prefectural University of Hiroshima คือ คุณมิกิ โยชิดะ เพื่อมาฝึกประสบการณ์การทำงานและสนับสนุนการปฏิบัติงาน ณ ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาฯ ตั้งแต่วันที่ 11 ถึง 22 มีนาคม 2562
2019年3月11日から3月22日の2週間、県立広島大学から人間文化学部国際文化学科の吉田美樹さんがチェンマイ大学日本研究センターでのインターンシップを経験しました。

งานที่ได้มอบหมายให้รับผิดชอบ คือ การจัดการห้องสมุด การจัดทำแคตตาลอตหนังสือที่ได้รับบริจาค เตรียมการนำเสนอเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวให้กับนักศึกษาและจัดทำโปสเตอร์เพื่อโปรโมทการนำเสนอ
日本研究センターでの主な研修内容として、寄贈された図書の整理及びカタログの作成、学生に向けた観光に関するプレゼンテーションの準備、プレゼンテーションを宣伝するためのポスターの製作に取り組みました。







รายละเอียดเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมาย มีดังต่อไปนี้
การจัดทำแคตตาลอตหนังสือที่ได้รับบริจาค ลำดับแรกคือ จัดทำข้อมูลพื้นฐานของหนังสือและทำการค้นหาข้อมูล ISBN และ NDC บนอินเตอร์เน็ท แม้ว่าจะมีหนังสือเก่าจำนวนมากที่แม้ว่าจะพยายามหาแล้วแต่ก็ไม่สามารถค้นหาข้อมูลได้ และด้วยความร่วมมือกันกับนักศึกษาฝึกงาน นางสาวปริชญา ศักภัทรนนท์ จากมหาวิทยาลัยพะเยา จึงสามารถทำให้การจัดทำข้อมูลของหนังสือเป็นไปตามเป้าหมาย
寄贈された図書及びカタログの作成について、まず図書に関する基本的な情報をデータ化し、ISBNとNDCをインターネット上で検索しました。昔の図書は検索しても発見できない場合が多く、少し苦戦しましたが、パヤオ大学からのインターンシップ生、ピックさんと協力することで目標の冊数のデータ化を完成させることができました。

เกี่ยวกับการนำเสนอนั้น ได้จัดทำการนำเสนอสถานที่ท่องเที่ยวในภูมิภาคชูโกกุ แล้วนำไปบรรยายให้นักศึกษาในห้องเรียนของผศ. เบญจางค์ ใจใส แดร์ อาร์สลานิออง วิชาญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเป็นการแนะนำถึงเสน่ห์ของภูมิภาคชูโกกุ และเพื่อให้การนำเสนอนั้นเข้าใจง่ายและน่าสนใจ จึงใช้อุปกรณ์ รูปภาพต่างๆ ในการบรรยาย
プレゼンテーションに関して、チェンマイ大学の日本事情の講義を履修している学生に向けて、中国地方の観光についてプレゼンテーションを行いました。中国地方の魅力について紹介するにあたり、伝わりやすくアピールするためには多くの工夫が必要だということを学びました。

การจัดทำโปสเตอร์โปรโมทเพื่อการนำเสนอนั้น ได้ร่วมทำโปสเตอร์กับนางสาวปริชญา ศักภัทรนนท์ พร้อมทั้งยังได้รับความรู้และเทคนิคทางด้านคอมพิวเตอร์ที่ยังไม่เคยเรียนรู้มาก่อนจากนางสาวปริชญา ศักภัทรนนท์ ทำให้ฉันได้รับแรงผลักดันให้กลับไปเรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เพิ่มเติมเมื่อกลับไปประเทศญี่ปุ่น
プレゼンテーションを宣伝するためのポスター製作は、ピックさんとの共同作業で、工夫を凝らしたポスターを仕上げることができました。また、ピックさんのコンピューターに関する知識や技術は私の知らないものばかりで、とても良い刺激を受けました。日本への帰国後、もっとコンピューターを使いこなせるよう勉強するという課題を見つけることができました。

มิกิ โยชิดะ Prefectural University of Hiroshima
県立広島大学 吉田美樹

Mar 26, 2019

【Donation】ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาฯ ได้รับหนังสือบริจาคจาก องค์การสนับสนุนนักศึกษาแห่งประเทศญี่ปุ่น(JASSO) / 日本学生支援機構(JASSO)より図書寄贈


เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2562 ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาฯ ได้รับมอบหนังสือเตรียมสอบวัดความรู้สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น(EJU) จากองค์การสนับสนุนนักศึกษาแห่งประเทศญี่ปุ่น(JASSO) เพื่อใช้ประโยชน์ตามพันธกิจของศูนย์ฯ ต่อไป โดยมีรายชื่อหนังสือดังต่อไปนี้

"2018 Examination for Japanese University Admission for International Students [2nd Session]"

ห้องสมุดศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา ยินดีต้อนรับให้นักเรียน นักศึกษา อาจารย์และบุคคลทั่วไปเข้าใช้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

2019年3月25日、日本学生支援機構(JASSO)より『日本留学試験(EJU)試験問題過去問集』の寄贈を受けました。

"日本学生支援機構 (2018) 『平成30年度日本留学試験試験問題 [第2回]"

センター図書室は一般の方も利用できますので、ご利用下さい。


Mar 22, 2019

【Report】กิจกรรม Movie Time เรื่องที่ 3 "ก็อตซิลล่า (shin godzilla)"

       
เมื่อวันพุธที่ 20 มีนาคม 2562 เวลา 12.30-15.30น. ศุนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้จัดกิจกรรม Movie Time ชมภาพยนตร์ญี่ปุ่นเรื่อง ก็อตซิลล่า (shin godzilla) ซึ่งเป็นผลงานการจัดกิจกรรมโดย นางสาวยูกิ สุกีโมโต นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา ภาควิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษ์ศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กิจกรรมในครั้งนี้มีนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมอย่างล้นหลาม นอกจากการชมภาพยนตร์แล้วนั้น ยังมีการบรรยายโดย คุณอากิระ สุกีโมโต มาให้ความรู้เกี่ยวกับทัศนคติความเชื่อของคนญี่ปุ่น และไขความลับที่ซ่อนอยู่ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ซึ่งเป็นโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นจริง อีกทั้งยังมีการให้ข้อคิด คติเตือนใจอีกด้วย อย่างเช่น เพื่อนๆ รู้หรือไม่ว่าก็อตซิลล่านั้นมีอิมเมจมาจากอะไร? ก็อตซิลล่า(ジラ) มีอิมเมจมาจาก กอลิล่า(リラ) กับ ปลาวาฬ(クジラ) แล้วตัวของก็อตซิลล่าและสิ่งที่มันกระทำก็สื่อถึงภัยธรรมชาติและภัยสงครามที่ประเทศญี่ปุ่นต้องเผชิญ ทำให้คนญี่ปุ่นที่เคยประสบพบเจอกับเหตุการณ์จากภัยธรรมชาติและภัยสงครามรู้สึกกล้วเวลาชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้อาจจะดูเหมือนหนังสัตว์ประหลาดทำลายบ้านเมืองอย่างเดียว แต่จริงๆ แล้ว ได้ซ่อนแง่คิดเอาไว้ด้วย นั้นก็คือ

"ในเมื่อภัยธรรมชาติเป็นสิ่งที่เราไม่อาจคาดการณ์ได้หรือห้ามได้ 
ดังนั้น เราต้องอยู่ร่วมกับภัยธรรมชาติให้ได้" 

"ชีวิตนี้มีชีวิตเดียว ไม่รู้ว่าชีวิตหรือโลกของเราจะจบสิ้นเมื่อไหร่ 
ดังนั้น ต้องใช้ชีวิตให้คุ้มค่า อย่ามัวแต่เสียเวลาอดทนรอ ลองหันมาลงมือทำในสิ่งที่ชอบไม่ดีกว่าเหรอ?"





คุณอากิระ สุกีโมโต (ขวา)
นางสาวยูกิ สุกีโมโต (ซ้าย)
ขอบคุณทุกท่านที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ 
หวังว่ากิจกรรมในครั้งต่อๆ ไป จะได้รับการสนับสนุนจากทุกท่านอีกนะคะ

Mar 20, 2019

【ประชาสัมพันธ์】 The 4th Asian Network for Japanese Studies Conference /【Announcement】 「アジア日本研究ネットワーク」第4回会議

ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ขอประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมงาน 
"The 4th Asian Network for Japanese Studies Conference"
ในวันศุกร์ที่ 29 - วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม 2562 
ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ใคร่ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจทุกท่านเข้าฟังการบรรยายฟรี ไม่เสียค่าลงทะเบียน
สำรองที่นั่งได้บนเว็บไซด์นี้ >> https://docs.google.com/…/1FAIpQLSeKKDe9kCPD0cmewb…/viewform


チェンマイ大学人文学部日本研究センターより
会議のご案内をいたします。

「アジア日本研究ネットワーク」第4回会議 
2019年3月29‐30日(金‐土)
場所:チュラーロンコーン大学文学部MCSビル

ご興味のある方是非ご参加ください。参加費は無料です(申し込みをお願いいたします)。
皆様を心よりお待ち申し上げます。

Mar 19, 2019

【Donation】ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาได้รับหนังสือบริจาคจากคุณนำพงศ์ หมุดคำ


เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2562 ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ได้รับหนังสือบริจาคจำนวน 6 เล่ม จาก คุณนำพงศ์ หมุดคำ

ทั้งนี้ ศูนย์ฯ จะได้นำหนังสือดังกล่าว ไปเผยแพร่และให้บริการแก่ผู้ที่เข้ามาใช้บริการ 
ณ ห้องสมุดศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา ให้เกิดประโยชน์ ต่อไป

ต้องขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ 

【Report】กิจกรรม Movie Time เรื่องที่ 2 "สุสานหิ่งห้อย (Grave of The Fireflies)"


          เมื่อวันพุธที่ 13 มีนาคม 2562 เวลา 12.30-15.30น. ศุนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้จัดกิจกรรม Movie Time ชมภาพยนตร์ญี่ปุ่นเรื่อง สุสานหิ่งห้อย (Grave of The Fireflies) ซึ่งเป็นผลงานการจัดกิจกรรมโดย นางสาวสุกีโมโต ยูกิ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา ภาควิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษ์ศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

          กิจกรรมในครั้งนี้มีนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมรวม 39 คน นอกจากการชมภาพยนตร์แล้วนั้น ยังมีการเสวนาโดย อาจารย์เรียวตะ วากาโซเนะ จากสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาร่วมเสวนาเกี่ยวกับการใช้เทคนิคทางวรรณกรรมชมภาพยนตร์ เพื่อที่จะสามารถมองความหมายที่แท้จริงที่ผู้แต่งหรือผู้กำกับต้องการจะสื่อ อย่างเช่น หากเราใช้แต่ความรู้สึกชมสุสานหิ่งห้อย ก็จะมีแต่ความเศร้า ความน่าสงสาร น่าสลด คิดว่าสงครามเป็นสิ่งที่ไม่ดี เพียงอย่างเดียว แต่ถ้าใช้เทคนิคทางวรรณกรรมชมภาพยนตร์ไปด้วย ก็จะทำให้เปิดมุมมองใหม่ๆ ได้มองเห็นในอีกมุมมองหนึ่งไม่ได้เห็นแต่อารมณ์ความรู้สึก อีกทั้งยังได้แง่คิดต่างๆ ในการชมภาพยนตร์ในแต่ละฉากอีกด้วย




อาจารย์เรียวตะ วากาโซเนะ (ซ้าย)
นางสาวสุกีโมโต ยูกิ (ขวา)

ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
ขอขอบพระคุณผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านที่ให้ความสนใจและเดินทางมาเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
และหวังว่าทุกท่านจะมาเข้าร่วมกิจกรรมครั้งต่อไปด้วยนะค่าา^^

Mar 12, 2019

【Report】โครงการเสวนาการเรียนการสอนวิชาญี่ปุ่นศึกษา ในโรงเรียนมัธยมศึกษา

          เมื่อวันศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2562 เวลา 13.00-15.30 น. ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดกิจกรรมเสวนา หัวข้อ "โครงการเสวนาการเรียนการสอนวิชาญี่ปุ่นศึกษา ในโรงเรียนมัธยมศึกษา" โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์เบญจางค์ ใจใส แดร์ อาร์สลานิออง หัวหน้าศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาและอาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ร่วมให้การต้อนรับ Mr. Kazunori KAWADA กงสุลใหญ่ญี่ปุ่น ณ นครเชียงใหม่ และ Mr. Atsushi AOKI กงสุลฝ่ายข่าวสารและวัฒนธรรม ซึ่งให้เกียรติในการเปิดงานและกล่าวปาฐกถาพิเศษ ณ ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



Mr.Kazunori KAWADA กงสุลใหญ่ญี่ปุ่น ณ นครเชียงใหม่


ผู้ช่วยศาสตราจารย์เบญจางค์ ใจใส แดร์ อาร์สลานิออง  หัวหน้าศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา

อาจารย์สรัญญา คงจิตต์  อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น



Mar 8, 2019

【Donation】ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาได้รับหนังสือบริจาคจาก โครงการสันติไมตรีไทย-ญี่ปุ่น Japan Wacth Project


ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาขอขอบพระคุณ โครงการสันติไมตรีไทย-ญี่ปุ่น Japan Wacth Project ที่ให้การอนุเคราะห์
หนังสือ "ญี่ปุ่นอย่างที่เป็น" ลำดับที่ 4-6 ให้แก่ห้องสมุดศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา

"ญี่ปุ่นอย่างที่เป็น" ลำดับที่ 4 ปฏิวัติเมจิ 1868
"ปฏิวัติเมจิ 1868 การปฏิวัติเมจิหรือที่เรียกกันว่า "การฟื้นฟูเมจิ" (Meiji Restoration) ในปี 1868 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนรูปรัฐจากรัฐศักดินาที่มีฐานเศรษฐกิจและการเมืองแบบคุมกำลังคนและที่ดินไปสู่รัฐชาติทุนนิยมที่ให้กรรมสิทธิ์ทรัพย์สินเอกชนและเสรีภาพในการประกอบกิจการเป็นการเปลี่ยนแปลงสังคมและการเมืองญี่ปุ่นอย่างถอนรากถอนโคน นับเป็นจุดพลิกผันสำคัญในประวัติศาสตร์ที่ส่งผลสะเทือนต่อญี่ปุ่นในทุกมิติ"

"ญี่ปุ่นอย่างที่เป็น" ลำดับที่ 5 บทบาทและสถานะของสตรีแนวหน้าของญี่ปุ่นหลังการเปลี่ยนแปลงประเทศสู่สมัยเมจิ 
"ผู้หญิงญี่ปุ่นในสมัยเมจิ จุดกำเนิดของความเป็นอิสระและการปลดปล่อยให้หลุดพ้นจากการอยู่ใต้อำนาจของผู้ชายซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยกลาง และผู้หญิงญี่ปุ่นแสดงความสามารถในการพึ่งพาตัวเองได้ด้วยพลังของผู้หญิงที่แสดงศักยภาพในการพัฒนาตนเองอย่างชัดเจน"

"ญี่ปุ่นอย่างที่เป็น" ลำดับที่ 6 JTEPA ณ ปีที่ 10 การปกป้องตลาดสินค้าเกษตรของญี่ปุ่น
"มาตราที่ 26 ของความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น "คู่ภาคีต้องทบทวนบทบัญญัติเรื่องการค้าสินค้า และทบทวนตารางภาษี รวมถึงทบทวนสินค้าที่ถูกยกออกจากการเจรจา และถูกจำกัดภาษีด้วย ในปีที่ 10 หลังความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ หรือเร็วกว่านั้นหากทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกัน" "

ทั้งนี้ ศูนย์ฯ จะได้นำหนังสือดังกล่าว ไปเผยแพร่และให้บริการแก่ผู้ที่เข้ามาใช้บริการ
ณ ห้องสมุดศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา ให้เกิดประโยชน์ ต่อไป

ต้องขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

【Report】กิจกรรม Movie Time เรื่องที่ 1 "บีลี่เกล สาวน้อยวัยรุ่น (Biri Gal)"


         

          เมื่อวันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 12.30-15.30น. ศุนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้จัดกิจกรรม Movie Time ชมภาพยนตร์ญี่ปุ่นเรื่อง บีลี่เกล สาวน้อยวัยรุ่น (Biri Gal) ซึ่งเป็นผลงานการจัดกิจกรรมโดย นางสาวสุกีโมโต ยูกิ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา ภาควิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษ์ศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

          กิจกรรมในครั้งนี้มีนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมรวม 36 คน  นอกจากการชมภาพยนตร์แล้วนั้น ยังได้มีการให้เกร็ดความรู้เด่นๆ ของภาพยนตร์ เช่น เกี่ยวกับชีวิตนักศึกษาของเด็กนักเรียนญี่ปุ่น และ การสอบเข้ามหาวิทยาลัย  โดย อาจารย์ซาวาโนะ โอสึกะ(อาจารย์ฝึกสอน) จากสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาพบรรยากาศขณะชมภาพยนตร์
อาจารย์ซาวาโนะ โอสึกะ จากสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
การให้ความรู้เกี่ยวกับเกร็ดความรู้เด่นๆจากภาพยนตร์


 

อาจารย์ซาวาโนะ โอสึกะ (ซ้าย)
นางสาวสุกีโมโต ยูกิ (ขวา)
ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
ขอขอบพระคุณผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านที่ให้ความสนใจและเดินทางมาเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
และหวังว่าทุกท่านจะมาเข้าร่วมกิจกรรมครั้งต่อไปด้วยนะค่าา^^

【Donation】ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาได้รับหนังสือบริจาคจาก สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ


ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาขอขอบพระคุณ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา 
ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
ที่ให้การอนุเคราะห์ วารสารญี่ปุ่นศึกษา ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม2561)
ให้แก่ห้องสมุดศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา

ทั้งนี้ ศูนย์ฯ จะได้นำหนังสือดังกล่าว ไปเผยแพร่และให้บริการแก่ผู้ที่เข้ามาใช้บริการ
ณ ห้องสมุดศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา ให้เกิดประโยชน์ ต่อไป

ต้องขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

Mar 7, 2019

【Report】งานสัมมนาคณาจารย์เครือข่ายภาษาญี่ปุ่นและญี่ปุ่นศึกษา ระดับอุดมศึกษาภาคเหนือ ครั้งที่2 / 北部タイ教員セミナー

          เมื่อวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 2-3 มีนาคม 2562 ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาและสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เข้าร่วม "งานสัมมนาคณาจารย์เครือข่ายภาษาญี่ปุ่นและญี่ปุ่นศึกษา ระดับอุดมศึกษาภาคเหนือ ครั้งที่ 2" จัดโดย เครือข่ายภาษาญี่ปุ่นและญี่ปุ่นศึกษา ระดับอุดมศึกษาภาคเหนือและหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ ณ ห้องประชุมบัวตอง โรงแรมกรีน นิมมานท์ ซีเอ็มยู เรสซิเดนซ์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
   2019年3月2-3日、北部タイ日本語日本研究大学コンソーシアムで、バンコク日本人商工会議所の助成を受けて、北部タイ教員セミナーをチェンマイ大学のGreen Nimman CMU Residentのブアトン会議室で開催しました。チェンマイ大学からは日本研究センター及び日本語学科の先生7名が参加しました。

วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม 2562 ช่วงบ่าย สมาชิกเครือข่ายฯ จำนวน 8 มหาวิทยาลัยกล่าวแนะนำสถาบันของตน และร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับ ระบบฝึกปฏิบัติสหกิจ และ วิชาญี่ปุ่นศึกษา ในปัจจุบัน
2019年3月2日の午後には、加盟大学8大学の日本語学科紹介をし、その後、各大学で行われている日本事情、インターンシップ制度について情報を共有しました。










ทั้งนี้ ได้จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) 2 หัวข้อ คือ 
1. ระบบฝึกปฏิบัติสหกิจ และ 2. วิชาญี่ปุ่นศึกษา 
โดยมีการแบ่งกลุ่มตามหัวข้อ เพื่อร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และนำเสนอ
次は、日本事情とインターンシップ制度に関してグループ討議を行いました。


หัวข้อที่ 1 ระบบฝึกปฏิบัติสหกิจ
テ―マ1:インターシップ




หัวข้อที่ 2 วิชาญี่ปุ่นศึกษา
テ―マ2:日本事情





วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม 2562
เครือข่ายฯ ได้จัดการบรรยาย หัวข้อ ประวัติศาสตร์การศึกษาภาษาญี่ปุ่นในประเทศไทย และ
คลาสเรียน หัวข้อ วิธีการสอนเรื่องการฟัง โดย อาจารย์ Takeshi Kitamura จากมูลนิธิญี่ปุ่น
2019年3月3日、北村武士先生に「タイ国の日本語教育の歴史を考える」及び「聴解授業の教授法」についてご講演いただきました。
อาจารย์ Takeshi Kitamura
北村武士先生

อาจารย์ ดร. Yusuke TOMINAGA (พิธีกร)
冨永悠介先生(司会)





อาจารย์ Isao YAMAKI
ประธานกรรมการเครือข่ายภาษาญี่ปุ่นและญี่ปุ่นศึกษาระดับอุดมศึกษาภาคเหนือ
八巻 一三男先生(コンソーシアム会長)